ผลิต
เป็นระบบ ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า การบวนการ และผลผลิตตามกรรมวิธี
การวัดด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับของสังคม การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษาทั้งผู้รับบริการโดยตรงได้แก่ ผู้เรียนและผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อมได้แก่ สถานประกอบการและประชาชน ดัง นั้น การประกันคุณภาพการศึกษา จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาจะประสบความสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ซึ่งจะต้องมีบทบาทและหน้าที่สำคัญ ในการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน ความจำเป็นของการประกันคุณภาพการศึกษา การ จัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ เพื่อทำให้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวคนได้รับการการพัฒนาอย่างเต็มที่ ทำให้เป็นคนที่รู้จักคิดวิเคราะห์รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มี คุณธรรม จริยธรรม รู้จักพึ่งตนเอง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วยการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจาก ภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำหับดูแลสถานศึกษานั้น การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจาก ภายนอก โดยบุคลากรจากภาพนอกสถานศึกษา หรือโดยหน่วยงานที่มีอำนาจได้แต่งตั้งให้คณะบุคคลดังกล่าวเข้ามาตรวจสอบ คุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาดังกล่าวตามที่กำหนด ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 1. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ 2. การพัฒนามาตรฐานการศึกษา 3. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา 4. การดำเนินงานตามแผนพัฒนา 5. การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา 6. การประเมินคุณภาพการศึกษา 7. การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี 8. การผดุงระบบการประกันคุณภาพ รูปภาพที่ 1 แสดงขั้นบันใดการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา(ภายในและภายนอก) การวางแผนการประกันคุณภาพแบบมีส่วนร่วม จุดเริ่มต้นของการประกันคุณภาพคุณภาพ การประกันคุณภาพเริ่มต้นที่ความพยายามของผู้บริหาร ครูและผู้เรียนในการปรับปรุงสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามเป้าหมายและวัตถุ ประสงค์ที่วางไว้ร่วมกับเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ (base-line standards or bench marks) ให้เพื่อขึ้นเรื่อยๆ ตามวิสัยทัศน์ที่เป็นเกณฑ์สูงสุดที่ต้องการไปให้ถึง(Kite-mark) ภายใต้เงื่อนไขทรัพยากร สังคมวัฒนธรรม เวลาและโอกาส โดยถือว่าเป็นภารกิจประจำของวัฒนธรรมองค์การ จนกลายเป็นวัฒนธรรมคุณภาพ(Quality Culture) ขององค์การและสถานศึกษานั้นๆ หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาได้แก่
1. การเตรียมความพร้อมของบุคลากร ผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องจัดให้บุคลากรในสถานศึกษามีความพร้อม โดยอาจดำเนินการใน 3 เรื่องคือ การสร้างความตระหนัก การสร้างเสริมความรู้ และการกำหนดความรับผิดชอบดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1.1 การสร้างความตระหนัก ถึงคุณค่าของการประกันคุณภาพภายในและการทำงานเป็นทีมให้กับบุคลากรซึ่ง ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เกิดความตระหนักเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการประกันคุณภาพภายในสถาน ศึกษา โดยใช้เทคนิควิธีดังนี้
ช่วง ที่ 2 เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดกรอบและว่างแผนการประเมิน การสร้างเครื่องมือ จากนั้นก็ดำเนินการรวบรวมข้อมูลตามกรอบและแผนการประเมิน ช่วงที่ 3 เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอผลการประเมิน และการเขียนรายงานผลการประเมินตนเอง (Self Study Report) โดยจัดประชุมปฏิบัติการหลังจากที่บุคลากรมีการปฏิบัติงาน และมีการประเมินตนเองตามแผนไปแล้วระยะหนึ่ง 1.3 การกำหนดความรับผิดชอบ โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการ
ข้อมูลสารสนเทศมีความสำคัญในการตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนการศึกษาและการกำหนดนโยบาย ซึ่งต้องมีข้อมูลที่มีคุณภาพ ถูกต้องครบถ้วนและทันสมัย จึงจะช่วยในการวางแผน การบริหารจัดการ และการตัดสินใจดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการาประกันคุณภาพภายในสถานศึกษานี้จะต้องมรการศึกษาข้อมูลสารสนเทศ เช่น
3. การเตรียมระบบหรือแนวคิดเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา มีการดำเนินงานประกันคุณภาพ 3 ขั้นตอน คือ 1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพและการพัฒนาสถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน ซึ่งประกอบด้วย
ระบบการประกันคุณภาพของสถานศึกษา ต้องให้หลักการบริหารที่เป็นระบบครบวงจร แบบ PDCA คือ 1. ร่วมกันวางแผน (Plan) 2. ร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Do) 3. ร่วมกันตรวจสอบ (Check) 4. ร่วมกันปรับปรุง/นำไปใช้ (Action) รูปภาพที่ 2 ร่วมกันปรับปรุง/นำไปใช้ (Action)แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระบบการประกันคุณภาพการศึกษา กับแนวคิดการบริหารที่เป็นระบบครบวงจรแบบ PDCA หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ได้แก่
ขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ระบบการประกันคุณภาพภายในเป็นเรื่องเดียวกับกระบวนการบริหารงานอย่างมีคุณภาพหรือวงจร PDCA ซึ่งเป็นระบบที่ผสมผสานอยู่ในกระบวนการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั่นเอง ใน การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและการทำงาน จะต้องคำนึงถึงเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน ซึ่งผู้บริหารจะต้องมีความตระหนัก เข้าสมีส่วนส่งเสริม สนับสนุน และร่วมคิดร่วมทำ รวมทั้งจะต้องมีการทำงานเป็นทีม โดยบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาต้องได้รับการเตรียมความพร้อมให้มองเห็นคุณค่า และมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน และดำเนินการอย่างต่อเนื่องร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยมีการติดตามและกำกับดูแลการดำเนินการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบ ใน การดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ควรมีการเตรียมการเพื่อสร้างความพร้อมให้แก่บุคลากร และจัดให้มีกลไกในการดำเนินงาน บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้องจึงร่วมกันวางแผน ร่วมกันปฏิบัติ ร่วมกันตรวจสอบ และร่วมกันปรับปรุง โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานทั้งหมด ดังแผนภาพดังต่อไปนี้ i 4.1 ขั้นการเตรียมการ เป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรเพื่อสร้างความตระหนัก พัฒนาความรู้และทักษะ แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบ รูปภาพที่ 3 แสดงขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน i 4.2 ขั้นการดำเนินการ ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบประเมินผล และการพัฒนาปรับปรุง ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องดำเนินการร่วมกันในทุกขั้นตอน โดยมีรายละเอียดแต่ละขั้นตอน ดังนี้ c 1. การวางแผน (Plan) การ วางแผนเป็นการคิดเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพื่อจะทำงานให้สำเร็จ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ สถานศึกษาควรมีการจัดทำแผนต่าง ๆ คือแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี แผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร และสอดคล้องกับเป้าหมายของสถานศึกษา แผนการประเมินคุณภาพการศึกษา แผนงบประมาณ ทั้งรายรับและรายจ่ายของสถานศึกษา ซึ่งแผนต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกัน ดังนี้ รูปภาพที่ 4 ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของแผนต่าง ๆ ที่สถานศึกษาควรจัดทำ ในการจัดทำแผนต่าง ๆ นั้น ควรวางแผนการประเมินผลไปพร้อมกันด้วย เพื่อใช้กำกับตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนเพียงใด โดยมีการตั้งเป้าหมาย วิธีการ รูปแบบ ในการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล แผนการประเมินที่ดี ควรสอดคล้อง เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน ดังนั้นโรงเรียนจึงมีขั้นตอนการวางแผน ดังแผนภูมิต่อไปนี้ รูปภาพที่ 5 แสดงขั้นตอนการวางแผน การกำหนดเป้าหมาย 1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการวางแผน ข้อมูลต่าง ๆ ที่ควรวิเคราะห์ คือ
รูปภาพที่ 6 การกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา 3. การจัดอันดับความสำคัญของเป้าหมาย จะช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการตั้งประเด็นเพื่อพิจารณาความต้องการในด้านต่าง ๆ 4. กำหนด แนวทางการดำเนินงานหรือวิธีปฏิบัติงาน คือการนำเป้าหมายที่มีลักษณะเป็นความคิดเชิงนามธรรม มาทำให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ โดยคิดโครงการหรือกิจกรรมที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ รวมกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จให้ชัดเจนด้วย 5. การกำหนดระยะเวลา การกำหนดระยะเวลาจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เพราะผู้ปฏิบัติจะได้ทราบว่างานใดควรดำเนินการให้เสร็จอย่างไร 6. การ กำหนดงบประมาณควรคิดงบประมาณที่จะต้องใช้ในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ รวมทั้งค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะเป็นในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ 7. การ กำหนดผู้รับผิดชอบการกำหนดผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม ในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้แผนดังกล่าวสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายได้ อย่างมีประสิทธิภาพ C 2. การปฏิบัติตามแผน (Do) บุคลากรร่วมกันดำเนินการตามแผนที่จัดทำไว้ โดยในระหว่างการดำเนินงานต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา และควรมุ่งเน้นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรดำเนินการดังนี้
การประเมินผล เป็นกลไกสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข โดยเฉพาะการประเมินตนเอง ซึ่งเป็นการประเมินที่มุ่งเพื่อการพัฒนา ซึ่งกิจกรรมที่ต้องดำเนินการประกอบด้วย การวางกรอบการประเมิน การจัดหา/จัดทำเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลความหมาย และการตรวจสอบ/ปรับปรุงคุณภาพการประเมิน ดังแผนภาพต่อไปนี้ รูปภาพที่ 7 แสดงกิจกรรมการตรวจสอบประเมินผลภายใน การวางกรอบการประเมิน เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางในการประเมิน และควร เชื่อมโยงกับเป้าหมายคุณภาพหรือมาตรฐานการศึกษาที่ระบุในแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ การจัดหา / จัดทำเครื่องมือ ประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เอกำหนดเครื่องมือที่จะใช้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยมีขั้นตอนดังแผนภูมิต่อไปนี้ รูปภาพที่ 8 แสดงการจัดหา/จัดทำเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีแนวทางดังนี้ 1. การรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้รับผิดชอบร่วมกันพิจารณากรอบการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละประเด็น และมีวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น
3. การตรวจสอบ / ปรับปรุงคุณภาพการประเมิน สถานศึกษาดำเนินการประเมินตามแผนที่กำหนดไว้แล้ว ก็จะต้องมีกาตรวจสอบ กระบวนการและผลการประเมิน เช่น ด้านความเหมาะสม ความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือ โดยผู้บริหารมีการตรวจสอบในระหว่างการนิเทศ และประชุมร่วมกับคณะกรรมการเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำในการปรับปรุงและพัฒนา กระบวนการประเมินคุณภาพให้มีประสิทธิภาพ C 4. การนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน (Action)
i 4.3 ขั้นการเขียนรายงาน เป็นขั้นที่จัดทำรายงานประเมินผลตนเองประจำปี..... หรือรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี..... ดำเนินการดังนี้
จากการดำเนินงานในการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษานั้น มีปัญหา และอุปสรรคดังนี้
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2011 เวลา 08:39 น. |
ลิขสิทธิ์ © 2012 เครือข่ายขยายโอกาสทางการศึกษา. สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.