วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประกันคุณภาพ

ผลิต เป็นระบบ ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า การบวนการ และผลผลิตตามกรรมวิธี การวัดด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับของสังคม 
 
     การประกันคุณภาพการศึกษา  หมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษาทั้งผู้รับบริการโดยตรงได้แก่  ผู้เรียนและผู้ปกครอง  และผู้รับบริการทางอ้อมได้แก่ สถานประกอบการและประชาชน
ดัง นั้น การประกันคุณภาพการศึกษา จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาจะประสบความสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ซึ่งจะต้องมีบทบาทและหน้าที่สำคัญ ในการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน 
 
     ความจำเป็นของการประกันคุณภาพการศึกษา
     การ จัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ เพื่อทำให้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวคนได้รับการการพัฒนาอย่างเต็มที่ ทำให้เป็นคนที่รู้จักคิดวิเคราะห์รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มี คุณธรรม จริยธรรม รู้จักพึ่งตนเอง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข 
     พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.  2545   
     หมวด  6  มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา 
     มาตรา  47  ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วยการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก
  
     การประกันคุณภาพภายใน  หมายถึง  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจาก ภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำหับดูแลสถานศึกษานั้น 
 
      การประกันคุณภาพภายนอก  หมายถึง  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจาก ภายนอก โดยบุคลากรจากภาพนอกสถานศึกษา หรือโดยหน่วยงานที่มีอำนาจได้แต่งตั้งให้คณะบุคคลดังกล่าวเข้ามาตรวจสอบ คุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาดังกล่าวตามที่กำหนด
  
     ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
    
1. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ 
     2. การพัฒนามาตรฐานการศึกษา 
     3. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
     4. การดำเนินงานตามแผนพัฒนา
     5. การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา 
     6. การประเมินคุณภาพการศึกษา 
     7. การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี 
     8. การผดุงระบบการประกันคุณภาพ

รูปภาพที่ 1  แสดงขั้นบันใดการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา(ภายในและภายนอก)
 
     การวางแผนการประกันคุณภาพแบบมีส่วนร่วม
 
     จุดเริ่มต้นของการประกันคุณภาพคุณภาพ 
     การประกันคุณภาพเริ่มต้นที่ความพยายามของผู้บริหาร  ครูและผู้เรียนในการปรับปรุงสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามเป้าหมายและวัตถุ ประสงค์ที่วางไว้ร่วมกับเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ (base-line standards or bench marks)  ให้เพื่อขึ้นเรื่อยๆ  ตามวิสัยทัศน์ที่เป็นเกณฑ์สูงสุดที่ต้องการไปให้ถึง(Kite-mark) ภายใต้เงื่อนไขทรัพยากร  สังคมวัฒนธรรม  เวลาและโอกาส  โดยถือว่าเป็นภารกิจประจำของวัฒนธรรมองค์การ  จนกลายเป็นวัฒนธรรมคุณภาพ(Quality Culture)  ขององค์การและสถานศึกษานั้นๆ
 
     หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาได้แก่   
  1.  การมีส่วนร่วม (Participation) โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders)  กับผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมิน และร่วมรับผิดชอบกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
  2. การเสริมสร้างพลัง (Empowerment)  โดยสร้างความรู้ทักษะ และความมั่นใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสร้างโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  3. การกระจายอำนาจ (Decentralization)  สถานศึกษาจะพัฒนาคุณภาพให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างเต็มที่ ต่อเมื่อสถานศึกษาเองต้องมีความเป็นอิสระเพียงพอที่จะคิดและตัดสินใจ ทั้งด้านการบริหาร วิชาการ และการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.  2542  ที่ต้องการให้มีการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษาสู่สถานศึกษาและท้องถิ่นให้มากที่สุด
  4. การสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบ (Accountability) สถานศึกษาต้องสร้างให้ทุกคนมีสำนึกในหน้าที่ของตนที่มีต่อการศึกษา เช่น หน้าที่ของความเป็นพ่อแม่  ครู  เป็นต้น นอกจากนี้ กระบวนการทำงานและผลงานของสถานศึกษาแห่งนั้นต้องสามารถตรวจสอบได้ทุกเทื่อ โดยสังคมและประชาชน
  5. การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous  Quality  Improvement)  การตรวจสอบทั้งภายในและภายนอกในบริบทของการประกันคุณภาพ มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับสำหรับใช้ในการวางแผน เพื่อการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
บทบาทของผู้บริหารกับการประกันคุณภาพการศึกษา

1.  การเตรียมความพร้อมของบุคลากร 
    ผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องจัดให้บุคลากรในสถานศึกษามีความพร้อม โดยอาจดำเนินการใน  3  เรื่องคือ  การสร้างความตระหนัก การสร้างเสริมความรู้ และการกำหนดความรับผิดชอบดังรายละเอียดต่อไปนี้ 
     1.1     การสร้างความตระหนัก ถึงคุณค่าของการประกันคุณภาพภายในและการทำงานเป็นทีมให้กับบุคลากรซึ่ง ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เกิดความตระหนักเห็นความสำคัญและความจำเป็นของการประกันคุณภาพภายในสถาน ศึกษา โดยใช้เทคนิควิธีดังนี้
  •  สร้างทีมงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
  •  ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมความคิด ร่วมกันวางแผน  และร่วมกันทำงาน
  •  สร้างมนุษยสัมพันธ์ในการดำเนินงาน
  •  เสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้เกิดขึ้นกับผู้ร่วมงาน  มีภาวะผู้นำทางวิชาการ
     1.2      การสร้างเสริมความรู้และทักษะเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน 
  • การ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยให้ทุกคนได้เข้าร่วมประชุม เชิงปฏิบัติการ ถ้าสามารถหาบุคลากรที่มีความสามารถจะเป็นแกนนำได้ ก็ควรมอบหมายให้แกนนำเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ 
  • ในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการนั้น ควรแบ่งเป็นช่วง ๆ ตามกิจกรรมที่ดำเนินการในแต่ละช่วง ดังนี้ 
         ช่วงแรก  เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับภาพรวมของระบบการประกันคุณภาพภายใน กระบวนการบริหารงานคุณภาพ แล้วเริ่มเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา และแผนปฏิบัติการในแต่ละปี จากนั้นให้ร่วมกันปฏิบัติจริงในการวางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ
         ช่วง ที่ 2  เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดกรอบและว่างแผนการประเมิน การสร้างเครื่องมือ จากนั้นก็ดำเนินการรวบรวมข้อมูลตามกรอบและแผนการประเมิน
         ช่วงที่ 3  เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอผลการประเมิน และการเขียนรายงานผลการประเมินตนเอง (Self  Study  Report)  โดยจัดประชุมปฏิบัติการหลังจากที่บุคลากรมีการปฏิบัติงาน และมีการประเมินตนเองตามแผนไปแล้วระยะหนึ่ง

    1.3      การกำหนดความรับผิดชอบ โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการ 
  • ผู้ บริหารมีความจำเป็นที่จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการ โดยมอบหมายให้บุคลากรเข้าร่วมเป็นกรรมการ เพื่อช่วยกันจัดทำแผน ดำเนินการพัฒนา และประเมินคุณภาพ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบตามภารกิจของตน  
  • การ ตั้งคณะกรรมการ ควรพิจารณาตามแผนภูมิโครงสร้างการบริหาร และให้บุคลากรรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานในภารกิจของตนเอง จะทำให้ระบบการประกันคุณภาพภายในหล่อหลอมเข้ากับการทำงานตามภารกิจของ บุคลากร ซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพ และมีความเชื่อมโยงกันในการพัฒนาคุณภาพด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ และด้านผู้เรียน อันจะก่อให้เกิดการพัฒนารอบด้านครบทุกด้าน 
2. การศึกษาข้อมูล 
    ข้อมูลสารสนเทศมีความสำคัญในการตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนการศึกษาและการกำหนดนโยบาย ซึ่งต้องมีข้อมูลที่มีคุณภาพ ถูกต้องครบถ้วนและทันสมัย จึงจะช่วยในการวางแผน การบริหารจัดการ และการตัดสินใจดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการาประกันคุณภาพภายในสถานศึกษานี้จะต้องมรการศึกษาข้อมูลสารสนเทศ เช่น 
  • ผลการดำเนินการและการประเมินตนเองในรอบปีที่ผ่านมา 
  • นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
  • ข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนตนเอง 
  • ความคิดเห็นของบุคลากรในโรงเรียนและชุมชน 

3.  การเตรียมระบบหรือแนวคิดเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา
    ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา มีการดำเนินงานประกันคุณภาพ  3  ขั้นตอน  คือ
    1. การควบคุมคุณภาพ (Quality  Control)  เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพและการพัฒนาสถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน ซึ่งประกอบด้วย
  •  การกำหนดมาตรฐานด้านผลผลิต ปัจจัย และกระบวนการ 
  •   การพัฒนาเข้าสู่มาตรฐาน หมายถึง การพัฒนาปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
    2. การตรวจสอบคุณภาพ (Quality  Audit)  เป็นการตรวจสอบและติดตามผลการดดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ประกอบด้วย
  •   การประเมินความกว้าหน้าของการจัดการศึกษา 
  •   การติดตามและตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
  •   การปรับปรุงคุณภาพสถานศึกษาที่มีคุณภาพไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    3. การประเมินคุณภาพ (Quality  Assessment)   เป็นการประเมินคุณภาพของสถานศึกษา โดยหน่วยงานที่กำกับดูแลในเขตพื้นที่ และหน่วยงานต้นสังกัดในส่วนกลาง ประกอบด้วย
  •  การทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 
  •  การประเมินเพื่อรองรับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 
  •  การประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในภาพรวมหรือการาประเมินคุณภาพการศึกษา 
    ดังนั้นการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน จึงเป็นกระบวนการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการ ศึกษา ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการโดยผู้บริหารและครูในสถานศึกษาร่วมกันกำหนด เป้าหมายที่ชัดเจน  
    ระบบการประกันคุณภาพของสถานศึกษา ต้องให้หลักการบริหารที่เป็นระบบครบวงจร แบบ PDCA คือ
    1.
ร่วมกันวางแผน (Plan)
    2. ร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Do)
    3. ร่วมกันตรวจสอบ (Check)
    4. ร่วมกันปรับปรุง/นำไปใช้ (Action)
 
รูปภาพที่ 2 ร่วมกันปรับปรุง/นำไปใช้ (Action)แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระบบการประกันคุณภาพการศึกษา กับแนวคิดการบริหารที่เป็นระบบครบวงจรแบบ PDCA

  
หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพภายใน 
            หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ได้แก่ 
  1. จุด มุ่งหมายของการประกันคุณภาพภายใน คือ การที่สถานศึกษาร่วมกันพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา โดยเป้าหมายที่สำคัญอยู่ที่การพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน 
  2. การ ประกันคุณภาพการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการและการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถาน ศึกษา โดยสถานศึกษาจะต้องวางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการที่มีเป้าหมายชัดเจน ทำตามแผน ตรวจสอบประเมินผล และพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ มีความโปร่งใส และมีจิตสำนึกในกาสรพัฒนาคุณภาพการทำงาน 
  3. การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู ? อาจารย์ และบุคลากรอื่น ๆ ในสถานศึกษา โดยในการดำเนินงานจะต้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้เรียน ชุมชน เขตพื้นที่ หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย วางแผน ติดตามประเมินผล พัฒนาปรับปรุง ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันผลักดันให้สถานศึกษามีคุณภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ เป็นไปตามความต้องการของผู้ปกครอง สังคม และประเทศชาติ
 4.  การดำเนินงานและการเขียนรายงาน 
    ขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน 
    ระบบการประกันคุณภาพภายในเป็นเรื่องเดียวกับกระบวนการบริหารงานอย่างมีคุณภาพหรือวงจร  PDCA ซึ่งเป็นระบบที่ผสมผสานอยู่ในกระบวนการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั่นเอง
     ใน การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน ให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและการทำงาน จะต้องคำนึงถึงเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน ซึ่งผู้บริหารจะต้องมีความตระหนัก เข้าสมีส่วนส่งเสริม สนับสนุน และร่วมคิดร่วมทำ รวมทั้งจะต้องมีการทำงานเป็นทีม โดยบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาต้องได้รับการเตรียมความพร้อมให้มองเห็นคุณค่า และมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน และดำเนินการอย่างต่อเนื่องร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา โดยมีการติดตามและกำกับดูแลการดำเนินการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบ
     ใน การดำเนินการประกันคุณภาพภายใน ควรมีการเตรียมการเพื่อสร้างความพร้อมให้แก่บุคลากร และจัดให้มีกลไกในการดำเนินงาน บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้องจึงร่วมกันวางแผน ร่วมกันปฏิบัติ ร่วมกันตรวจสอบ และร่วมกันปรับปรุง โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานทั้งหมด ดังแผนภาพดังต่อไปนี้
   
    i 4.1 ขั้นการเตรียมการ   
        เป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรเพื่อสร้างความตระหนัก พัฒนาความรู้และทักษะ 
        แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบ



รูปภาพที่ 3  แสดงขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน
 
     i 4.2  ขั้นการดำเนินการ 
    ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก  4  ขั้นตอน  คือ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบประเมินผล และการพัฒนาปรับปรุง ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องดำเนินการร่วมกันในทุกขั้นตอน โดยมีรายละเอียดแต่ละขั้นตอน ดังนี้
         c 1. การวางแผน (Plan)  
         การ วางแผนเป็นการคิดเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพื่อจะทำงานให้สำเร็จ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ สถานศึกษาควรมีการจัดทำแผนต่าง ๆ คือแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี แผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร และสอดคล้องกับเป้าหมายของสถานศึกษา แผนการประเมินคุณภาพการศึกษา แผนงบประมาณ ทั้งรายรับและรายจ่ายของสถานศึกษา ซึ่งแผนต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกัน ดังนี้ 
 
รูปภาพที่ 4 ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของแผนต่าง ๆ ที่สถานศึกษาควรจัดทำ
 
     ในการจัดทำแผนต่าง ๆ นั้น ควรวางแผนการประเมินผลไปพร้อมกันด้วย เพื่อใช้กำกับตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนเพียงใด โดยมีการตั้งเป้าหมาย วิธีการ รูปแบบ ในการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล แผนการประเมินที่ดี ควรสอดคล้อง เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน 

ดังนั้นโรงเรียนจึงมีขั้นตอนการวางแผน ดังแผนภูมิต่อไปนี้
 
รูปภาพที่ 5 แสดงขั้นตอนการวางแผน

      การกำหนดเป้าหมาย 
        1.  ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการวางแผน ข้อมูลต่าง ๆ ที่ควรวิเคราะห์ คือ 
  • เป้าหมายหรือมาตรฐานหลักที่เป็นความต้องการส่วนรวมของสังคมและประเทศชาติ 
  • สภาพเศรษฐกิจ ? สังคมของท้องถิ่นและชุมชน ทั้งในด้านสภาพทั่วไป ปัญหาความต้องการและแนวโน้มการพัฒนา ซึ่งเป็นเป้าหมายหรือมาตรฐานเฉพาะ
  • ข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาที่แสดงภาพของสถานศึกษาตามความเป็นจริง ได้แก่ สถิติข้อมูลพื้นฐาน ความสามารถในด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษา 
       2. วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา เพื่อพิจารณาความสอดคล้องขอข้อมูลต่าง ๆ  และการสังเคราะห์เพื่อประสานความต้องการของฝ่ายต่าง ๆ ตามแผนภูมิดังนี้ 
 
รูปภาพที่ 6   การกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา


            3. การจัดอันดับความสำคัญของเป้าหมาย จะช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการตั้งประเด็นเพื่อพิจารณาความต้องการในด้านต่าง ๆ
            4. กำหนด แนวทางการดำเนินงานหรือวิธีปฏิบัติงาน  คือการนำเป้าหมายที่มีลักษณะเป็นความคิดเชิงนามธรรม มาทำให้เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ โดยคิดโครงการหรือกิจกรรมที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ รวมกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จให้ชัดเจนด้วย
            5. การกำหนดระยะเวลา  การกำหนดระยะเวลาจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เพราะผู้ปฏิบัติจะได้ทราบว่างานใดควรดำเนินการให้เสร็จอย่างไร
             6. การ กำหนดงบประมาณควรคิดงบประมาณที่จะต้องใช้ในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ รวมทั้งค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะเป็นในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ
           7. การ กำหนดผู้รับผิดชอบการกำหนดผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม ในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้แผนดังกล่าวสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
         C 2.  การปฏิบัติตามแผน (Do)
         บุคลากรร่วมกันดำเนินการตามแผนที่จัดทำไว้ โดยในระหว่างการดำเนินงานต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา และควรมุ่งเน้นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรดำเนินการดังนี้
  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนทำงานอย่างมีความสุข 
  • จัดสิ่งอำนวยความสะดวก สนับสนุนทรัพยากรเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  •  กำกับ ติดตาม (Monitoring) ทั้งระดับรายบุคคล รายกลุ่ม รายฝ่าย เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการดำเนินงานตามแผน
  • ให้ การนิเทศ ผู้บริหารควรให้การนิเทศ เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องการจัดการเรียนการสอน การประเมินตนเอง และทักษะในด้านต่าง ๆ
         C 3. การตรวจสอบประเมินผล (Check)
         การประเมินผล เป็นกลไกสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข โดยเฉพาะการประเมินตนเอง ซึ่งเป็นการประเมินที่มุ่งเพื่อการพัฒนา ซึ่งกิจกรรมที่ต้องดำเนินการประกอบด้วย การวางกรอบการประเมิน การจัดหา/จัดทำเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลความหมาย และการตรวจสอบ/ปรับปรุงคุณภาพการประเมิน ดังแผนภาพต่อไปนี้

รูปภาพที่ 7 แสดงกิจกรรมการตรวจสอบประเมินผลภายใน

            การวางกรอบการประเมิน เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางในการประเมิน และควร 
เชื่อมโยงกับเป้าหมายคุณภาพหรือมาตรฐานการศึกษาที่ระบุในแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ 
            การจัดหา / จัดทำเครื่องมือ ประชุมคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เอกำหนดเครื่องมือที่จะใช้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยมีขั้นตอนดังแผนภูมิต่อไปนี้ 

รูปภาพที่ 8 แสดงการจัดหา/จัดทำเครื่องมือ
 
         การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีแนวทางดังนี้ 
        1. การรวบรวมข้อมูล 
  • ใช้ข้อมูลที่สถานศึกษามีอยู่แล้ว 
  • เก็บข้อมูลใหม่ 
  • เก็บจากหลาย ๆ แหล่งเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล 
  • เก็บตามเวลาที่สอดคล้องกับการทำงานตามปกติ 
  • ในช่วงเวลาเดียวกัน ไม่ควรระดมเก็บข้อมูลทุกอย่างพร้อมกันจำนวนมากความครอบคลุมของกลุ่มเป้าหมาย 
  • ข้อมูลเพื่อพัฒนาปรับปรุงเป็นรายบุคคล ต้องเก็บข้อมูลทุกคน 
  • ข้อมูลภาพรวมของสถานศึกษา หรือข้อมูลจากผู้ปกครอง ชุมชน เก็บจากกลุ่มตัวอย่าง 
        2. การวิเคราะห์ข้อมูล 
     การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้รับผิดชอบร่วมกันพิจารณากรอบการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละประเด็น และมีวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น 
  • การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล
  •  การ วิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียนในภาพรวม การแปลความหมายข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ต้องนำมาแปลข้อมูลก่อน โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ดังแผนภาพต่อไปนี้


        3. การตรวจสอบ / ปรับปรุงคุณภาพการประเมิน 
    สถานศึกษาดำเนินการประเมินตามแผนที่กำหนดไว้แล้ว ก็จะต้องมีกาตรวจสอบ กระบวนการและผลการประเมิน  เช่น ด้านความเหมาะสม ความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือ โดยผู้บริหารมีการตรวจสอบในระหว่างการนิเทศ และประชุมร่วมกับคณะกรรมการเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำในการปรับปรุงและพัฒนา กระบวนการประเมินคุณภาพให้มีประสิทธิภาพ

         C 4. การนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน (Action)
  • การปรับปรุงการปฏิบัติงานของผู้บริหารและบุคลากร
  • การวางแผนในระยะต่อไป
  • การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ
  • การประเมินผล
    เมื่อมีการดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ แล้ว การประเมินผลการดำเนินงานก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ทราบว่า การดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนมีปัญหา ? อุปสรรค จะมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้น ๆ อย่างไร ต้องมีการประเมินผลเป็นระยะ ๆ เพื่อปรับปรุง แก้ไขปัญหาอุปสรรคไปด้วย โดยเน้นที่เป้าหมายคือตัวนักเรียนเป็นสำคัญ


   i 4.3  ขั้นการเขียนรายงาน
    เป็นขั้นที่จัดทำรายงานประเมินผลตนเองประจำปี..... หรือรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี.....  ดำเนินการดังนี้
  • รวมรวมผลการดำเนินงานและประเมินตนเอง
  • วิเคราะห์ตามมาตรฐาน
  • เขียนรายงาน
5.  ปัญหา ? อุปสรรคและข้อเสนอแนะ
จากการดำเนินงานในการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษานั้น มีปัญหา และอุปสรรคดังนี้
  1. บุคลากร/ สถานศึกษา
  • บุคลากรยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการประกันคุณภาพภายในสถานศึก
  • บุคลากรไม่มีความรู้ในการจัดทำเครื่องมือในการประเมิน
  • บุคลากรไม่ได้ให้ความร่วมมือในการดำเนินการประกันคุณภาพอย่างเต็มที่
  • ด้านผู้ปกครอง และชุมชน ยังขาดความร่วมมือเท่าที่ควร
  • สถานศึกษายังเก็บข้อมูลสารสนเทศไม่เป็นระบบ
  • สถานศึกษาขาดการเก็บข้อมูลที่เป็นจริง
     2. งบประมาณ
  • งบประมาณไม่เพียงพอ
  • การจัดหาเครื่องมือการประเมิน ยังไม่ทันสมัย
    3. การดำเนินงาน
  • การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ยังไม่เป็นระบบ
  • ขาดการวางแผนที่ดี
  • ระยะเวลาในการประเมินไม่เหมาะสม กระชั้นชิด
    4. การจัดทำรายงาน
  • รูปเล่มของการรายงานไม่เป็นระบบและมีตัวอย่างที่เหมาะสม
ข้อเสนอแนะ
  • จัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรทั้งในสถานศึกษาและในชุมชน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด
  • สร้างความตระหนักและให้เห็นถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา
  • ปรับปรุงระบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาอยู่เสมอ
  • จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ
  • จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2011 เวลา 08:39 น.
 
ลิขสิทธิ์ © 2012 เครือข่ายขยายโอกาสทางการศึกษา. สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
Joomla! เป็นซอฟท์แวร์เสรีภายใต้ลิขสิทธิ์ GNU/GPL License.
เว็บนี้ขับเคลื่อนด้วย จูมล่าลายไทย